SD Card เมมโมรี่ที่ตอนนี้ เป็นที่นิยมใช้งานมากที่สุด เนื่องจากขนาดที่เล็ก ราคาไม่สูง ใช้งานได้หลากหลาย ใช้ได้กับกล้องถ่ายภาพหลายยี่ห้อ รวมไปถึงโทรศัพท์มือถือ แถมยังมีหลายขนาด ทั้งแบบปกติ, mini SD, micro SD เพื่อให้รองรับกับอุปกรณ์
แต่ละประเภท
แต่ละประเภท
อะไรเป็นตัวกำหนดราคา และคุณภาพของ SD Card
โดยตัวแปรที่กำหนดราคาของ เมมโมรี่ SD ตัวแปรหลักที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้ นั่นก็คือเรื่องของ ยี่ห้อ และชื่อชั้น ราคาที่แตกต่าง เมื่อเทียบในความจุ และความเร็วระดับเดียวกัน แต่ราคา และความน่าเชื่อถือของบริษัทต่างกัน มีผลต่ออายุการใช้งาน รวมไปถึงความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล
และนอกจากยี่ห้อ ที่เป็นตัวแบ่งระดับราคาของเมมโมรี่แล้ว เมมโมรี่ SD ยังถูกแบ่งประเภทใหญ่ๆ ตาม ระดับความจุทั้งในแบบ SD Standard Capacity (SD, มากที่สุด 16 GB), SD High Capacity (SDHC, มากที่สุด 32 GB), SD eXtended Capacity (SDXC, มากที่สุด 2 TB) โดยเมมโมรี่แต่ละระดับความจุ ยังถูกแยกด้วยความเร็วการเขียน และอ่านข้อมูล อย่าง Class 2, 4, 6, 10 ซึ่งก็จะมีความเร็วในการเขียน และอ่านข้อมูลต่างกันไป โดยเราจำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสมกับงานของเรา(แน่นอนยิ่งเร็วยิ่งดี) ส่วนราคาก็จะแปรผันตามความเร็วที่เพิ่มขึ้น โดยการพัฒนาของเมมโมรี่ชนิดนี้ นอกจากความจุของการ์ดที่เพิ่มขึ้น ยังพัฒนาให้ความเร็วสูงกว่าเดิม อย่างในปัจจุบัน (พ.ศ.2554) ได้มีการพัฒนาให้มี Class UHS-1 ที่สามารถเขียนอ่านข้อมูลได้เร็วกว่า Class 10 เดิม และคงมีการพัฒนาให้เกิด UHS-2 เพื่อให้รองรับเทคโนโลยีในยุคต่อๆ ไป
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายท่านอาจจะงงกับศัพท์เฉพาะที่กล่าวถึงในย่อหน้าที่แล้ว ว่าคำว่า Class และ x บ่งบอกอะไรบ้าง
หากท่านผู้อ่านเดินไปที่ร้านค้า เพื่อซื้อเมมโมรี่ซักตัว วิธีการเลือกซื้อเมมโมรี่ นอกจากจะดูที่ขนาดความจุที่เราต้องการแล้ว ยังจำเป็นต้องเลือกให้ขนาดความเร็วของการ์ด เหมาะสมกับการใช้งาน โดยสามารถดูได้จาก Class และ x นั่นเอง
แล้ว Class และ x ดูได้จากไหน
หากท่านผู้อ่านเดินไปที่ร้านค้า เพื่อซื้อเมมโมรี่ซักตัว วิธีการเลือกซื้อเมมโมรี่ นอกจากจะดูที่ขนาดความจุที่เราต้องการแล้ว ยังจำเป็นต้องเลือกให้ขนาดความเร็วของการ์ด เหมาะสมกับการใช้งาน โดยสามารถดูได้จาก Class และ x นั่นเอง
แล้ว Class และ x ดูได้จากไหน
เลข Class/X เช่น 2, 4, 6, 10 ส่วนใหญ่จะมีอยู่ทีตัวเมมโมรี่ หรือบางยี่ห้อ จะถูกตีพิมพ์ไว้ที่กล่อง ซึ่งค่านี้บ่งบอกว่า การ์ดที่เราจะซื้อนั้น สามารถเขียนข้อมูลได้ช้าที่สุด ตามตัวเลขนั้น โดยหน่วยจะเป็น MB/s (เช่น Class 2 ก็จะมีความเร็วในการเขียนประมาณ 2 MB/s , Class 10 ก็ 10 MB/s ) โดยถ้าเทียบกับค่า x จะดูได้ตามตาราง ถ้าใครกังวลเรื่องถ่ายวีดีโอแบบ Full HD ที่ต้องใช้ความเร็วของการ์ดค่อนข้างสูง ก็ต้องดูว่าสามารถเขียนข้อมูลลงการ์ดได้ไม่ต่ำกว่า 5.5 MB/s จึงจะเพียงพอ หรือพูดง่ายๆ ให้เลือกการ์ด Class 6 ขึ้นไป บางยี่ห้อเขียนว่า Class 4 แต่สามารถถ่ายวีดีโอ Full HD ได้เพราะสามารถเขียนข้อมูลได้เร็วกว่า 4 MB/s แต่ไม่ถึง 6 MB/s นั่นเอง
** การบอกจำนวน x บางครั้ง บริษัทผู้ผลิตจะเขียนมาเฉพาะค่าอ่าน หรือ เขียน ที่สามารถวัดได้สูงสุดเท่านั้น หรือบางทีก็จะเป็นตามการ์ดอย่างเช่น 15 MB/s* เครื่องหมาย * ก็จะมีให้อ่านหมายเหตุว่าเอาค่ามาจากไหน ฯลฯ
ความเร็วของ SD Card ได้ถูกพัฒนาให้เป็นระบบ UHS-1 หรือ Ultra High Speed 1 ออกมา ให้ลูกค้าเลือกใช้ ซึ่งก็คือระบบที่ออกแบบมาใหม่ เพื่อช่วยให้การ์ดสามารถส่งผ่านข้อมูลได้เร็วมากขึ้น โดยมีความเร็วในการทำงาน 100 MHz (50 MB/s) กับ 208 MHz (104 MB/s) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นไปอีก และในอนาคตจะมี UHS-II ที่สามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 312 MB/s และยังมีแนวโน้มจะพัฒนาให้ความเร็วสูงขึ้น ตามให้ทันเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละยุคสมัย และแน่นอนราคาก็ยิ่งสูงยิ่งขึ้น จนกว่าจะมีการพัฒนารุ่นที่ล้ำหน้ากว่ารุ่นล่าสุดนั่นเอง
ภาพตัวอย่าง การ์ดใบนี้ มีเครื่องหมายบอกว่าเป็นการ์ด Class UHS-1 (เลข 1 ในตัว U) แต่ถ้ากล้องไม่รองรับ ก็จะมีการถ่ายข้อมูลขั้นต่ำที่ 10 MB/s (เลข 10 ใน วงตัว C) หรือ Class 10 ส่วน 94MB/s* หมายถึงการ์ดสามารถเขียนหรืออ่านค่าใดค่าหนึ่งได้เร็วที่สุดที่ 94 MB/s
สุดท้าย สรุปชัดๆ ว่า จะให้ซื้อเมมโมรี่ยี่ห้อไหน ความจุเท่าใด ความเร็วแค่ไหนถึงจะคุ้มที่สุด
ความคุ้มค่านั้นขึ้นอยู่กับเงินในกระเป๋า และความเหมาะสมในการใช้งานของแต่ละบุคคล แต่ถ้าทำงานแบบต้องใช้ SD CARD เป็นประจำ จะเลือกเมมโมรี่ยี่ห้อที่มีชื่อเสียง เพราะพิสูจน์มาแล้ว ว่ามีผลต่อคุณภาพและความทนทาน เลือกเมมโมรี่ที่รองรับความเร็วและเทคโนโลยีในอนาคต เพราะงานบางแบบต้องตามเทคโนโลยีให้ทัน ไม่เช่นนั้นก็ต้องซื้อเมมโมรี่ใหม่อยู่ดี ส่วนใครจะเน้นราคาถูก หรือเลือกตามระยะเวลารับประกัน อันนี้ท่านผู้อ่านคงต้องตัดสินใจเลือกเองแต่ขอเน้นย้ำสุดท้ายว่า เลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานคือสิ่งที่ดีที่สุด
Credit:klongdigital
Credit:klongdigital
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ
ตอบลบ